Posts tagged: Microsoft

ป่วยทันทีหลังสอบเสร็จ แต่ก็ได้จนได้ MCITP: Enterprise Messaging 2010

วันนี้ออกไปสอบวิชาสุดท้ายของ MCITP: Enterprise Messaging 2010 มา ตัวนี้เป็นตัว Pro (ถ้าของ MCTS จะใช้ชื่อว่า TS) ซึ่งตัวนี้จะไม่มีหนังสืออย่างเป็นทางการจาก Microsoft Press มาให้อ่านกันเป็นการเฉพาะเหมือน Enterprise Administrator ของ Windows 2008 ครับ แต่ก็ยังมีของบริษัทรถด่วนที่ทำออกมา โดยส่วนตัวแล้วผมถือว่ายอดเยี่ยมมาก วิทยากรอยู๋มานานพอสมควร แถมยังเคยเขียนบางบทของหนังสือ Exchange Server ของ Microsoft ด้วย

ผลจากการศึกษาเพื่อสอบในวิชานี้ถือว่ามีประโยชน์มาก เพราะแทนที่จะนั่ง Config อย่างเดียวหรืออกแบบไปตามใจฉัน ก็ได้มาเรียนรู้การออกแบบที่ค่อนข้างเป็นทางการ หรืออย่างน้อยๆก็ได้แนวคิดคนอื่นมาบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เนื่องจากการศึกษาจากคนอื่นผมมักจะได้มุมมองใหม่ๆที่เป็นประโยชน์เยอะทีเดียว สิ่งเหล่านี้ผมเชื่อว่าก็จะส่งผลให้การออกแบบระบบทำได้ดีขึ้นแน่นอนครับ

ว่ากันตามจริงสถานการณ์หลายอย่างในข้อสอบเราคงไม่เจอบ่อยนัก แต่รู้ไว้ใช่ว่าครับเรื่องแบบนี้ และการสอบนี่แหละครับที่จะทำให้เรามีแรงกระตุ้นในการพัฒนาความรู้ เช่น อ่านหนังสือ ทำ Lab ให้จดจ่ออยู่ได้มากขึ้น (สำหรับบางท่านที่มีแรงกระตุ้นอยู่แล้วก็โชคดีไปครับ ขอแสดงความยินดีด้วย)

หลังการสอบมีอาการคัดจมูก น้ำมูกเริ่มไหล ไข้เริ่มมา ผมคิดว่าผมคงจะเริ่มป่วยแล้ว เนื่องจากอากาศช่วงนี้มันหนาวพอได้ทีเดียว ทางผมก็ขอให้ผู้อ่านทุกท่านรักษาสุขภาพกันให้ดีนะครับ จะได้ไม่มานั่งทรมานแบบผม

ตอนนี้บ้านเรามีภัยภิบัติมากทีเดียว หากผู้อ่านท่านใดมีจิตศรัทธาก็ช่วยเหลือพี่น้องร่วมชาติกันนะครับ จะเป็นในรูปใดก็ได้ หากท่านชอบลงพื้นที่จะลองไปลงแรงในพื้นที่ เช่น สร้างทำนบกั้นน้ำ บูรณะสิ่งต่างๆหลังน้ำลด ผมก็คิดว่าน่าสนุกทีเดียวครับ รายละเอียดต่างๆลองหาดูจากเว็บอาสาสมัครกันได้ครับ เช่น จิตอาสา กระจกเงา ได้เลยครับ

พบกันใหม่โอกาสหน้าครับ วันนี้อาจจะต้องพักซักครู่แล้วครับ

Web Proxy Autodiscovery Protocol (WPAD) กับ ISA และ TMG

วันนี้ขอมาสาระสักเล็กน้อยเกี่ยวกับ WPAD บน ISA และ TMG นะครับ

WPAD หรือ Web Proxy Automaticdiscovery Protocol (WPAD) เป็นโปรโตคอลที่ถูกออกแบบมาให้ไคลเอนต์สามารถค้นหาพร็อกซีได้โดยอัตโนมัติผ่านเว็บเบราเซอร์ ซึ่งถ้าหากผู้อ่านทุกท่านลอง Sniff ข้อมูลในขณะที่เปิดเว็บเบราเซอร์ขึ้นมาไม่ว่าจะตัวไหนก็ตาม ก็จะพบว่าจะมีการพยายาม Resolve Hostname ที่ชื่อ WPAD ก่อนโดยตลอด กระบวนการนี้คือการค้นหาพร็อกซีโดยอัตโนมัตินั่นเอง

ปกติแล้วเราสามารถใช้ระบบนี้ได้โดยผ่านทั้ง DHCP และ DNS สำหรับ DHCP จะสามารถใช้ได้เฉพาะซอฟท์แวร์ของไมโครซอฟท์เท่านั้น (ยกเว้นเราจะเขียน Add-on สำหรับเว็บเบราเซอร์อื่นๆ) เพราะ DHCP Option ที่ใช้นี้จะถูกระบุใน RFC ว่าเป็น Private Use นั่นหมายความว่า Vendor เจ้าไหนก็สามารถนำไปใช้กับซอฟท์แวร์ของตนเองได้หมด ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ ISA, TMG จะใช้กับ IE นั่นเอง

ในทาง Security แล้ว เราไม่ควรใช้งาน WPAD  ในระบบของเราเท่าใดนัก เพราะการใช้งาน WPAD จะทำให้ Attacker สามารถจะ Identify ตัว Proxy Server ของเราได้ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อได้ข้อมูลตรงนี้แล้ว การทำ Information Gathering รวมไปถึงการทำ Vulnerability Assessment กับตัว Proxy จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ในท้ายที่สุดก็จะนำมาสู่การโจมตีตัว Proxy นั่นเอง

อย่างไรก็ตามในบางระบบการใช้งาน WPAD ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น ดังนั้นหากเราเลี่ยงไม่ได้แล้ว สิ่งที่ควรจะทำคือการ Hardening ตัว Proxy ของเราให้ดีที่สุด ซึ่งก็ทำได้หลายวิธีด้วยกันครับ

อีกสิ่งหนึ่งที่อาจจะมีข้ึ่อถกเถียงบ้างคือตัว DHCP Option นั้นยังมีหลายๆท่านเข้าใจว่าต้องใส่เป็น Hostname เท่านั้น ซึ่งผมขอเรียนว่าไม่จำเป็นครับ เพราะการใส่เป็น Hostname แล้วเท่ากับว่าบังคับให้ไคลเอนต์ทุกคนต้องชี้  DNS, WINS มาที่ระบบของท่านเอง ซึ่งในบางครั้งทำไม่ได้แน่ๆ จะหวังไปพึ่ง NetBIOS ก็อยากเรียนว่าสมัยนี้แล้วจะใช้ NetBIOS ให้ล่อเป้าในการทำ Enum และ Exploit ไปทำไม จริงไหมครับ :)

Threat Management Gateway 2010 (ISA Server) vs BlueCoat ProxySG

หลังจากที่ได้มีโอกาสจับ BlueCoat มาซักระยะหนึ่งแล้ว ผมก็นึกอยากเขียนบทความเปรียบเทียบนี้ขึ้นมาทันทีเลย เพราะจะว่าไปแล้วมีหลายๆท่านสงสัยเกี่ยวกับทั้งสองตัวนี้เหมือนกัน พี่ๆเซลล์ในบริษัทผมเองก็เคยสงสัยว่าทั้งสองตัวนี้จะเสนออะไรให้ลูกค้าดี หรือจะสู้กับอีกฝ่ายยังไงดี วันนี้เลยขอเล่าให้ฟังสักเล็กน้อยครับ เริ่มกันเลยดีกว่าครับ

  1. TMG 2010 (ISA) เป็นซอฟท์แวร์ด้าน Security ที่มีฟีเจอร์ Proxy มาให้ด้วย ซึ่งจุดนี้หากผู้อ่านทำงานด้านนี้มานานก็น่าจะพอนึกออกว่าจริงๆแล้ว TMG หรือ ISA พัฒนามาจาก Microsoft Proxy Server ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าทำอะไร :) แต่ต่อมาไมโครซอฟท์ปรับปรุงซะจนกลายเป็น Security Software ไปซะแล้ว ยิ่งใน TMG 2010 มีอะไรต่อมิอะไรเพิ่มขึ้นอีกมากจนเรียกได้ว่าเป็น UTM (Unified Threat Management) คือกันได้ทุกอย่างแล้ว
  2. BlueCoat จริงๆแล้วมีด้วยกันหลายซีรีย์ สำหรับในส่วนของพร็อกซีจะเรียกว่า ProxySG ซึ่งเป็นฮาร์โแวร์ที่ทำงานด้าน Proxy แบบแท้ๆ แต่ก็แอบมีฟีเจอร์ดีๆที่เกี่ยวกับ Security อยู่เหมือนกันเช่น URL Filtering, Antivirus ซึ่งในส่วนของ Antivirus จะต้องซื้อฮาร์ดแวร์ในซีรีย์ AV เข้ามาอีกด้วยจึงจะใช้ได้
  3. เปรียบ เทียบกันในด้าน Proxy แล้ว ผมเห็นว่า BlueCoat ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะรองรับโปรโตคอลได้หลากหลายมาก (ขนาด CIFS ยังมีให้เซตเลย) การปรับแต่ง Policy ก็ทำได้อย่างหลากหลาย คอนเซปต์การใช้งาน Policy ในรูปแบบ Layer and Rule ก็ถือว่าน่าสนใจดี เรียกว่าในส่วนของ Proxy เลือก BlueCoat ได้เลย
  4. ในส่วนของ URL Filteringตรงนี้ TMG 2010 เพิ่มจะเริ่มพัฒนาฐานข้อมูลของตนเอง ดังนั้นความถูกต้องและแม่นยำ รวมทั้งความครบถ้วจะเป็นรองค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามหากเรามีการใช้ Websense ร่วมด้วยแล้ว จุดอ่อนที่ว่าก็แทบจะไม่เป็นจุดอ่อนเลย เพราะ Websense ก็มีฐานข้อมูลใหญ่พอๆกับ BlueCoat และจริงๆแล้ว Websense ก็ใช้กับ BlueCoat ได้เหมือนกัน
  5. การรองรับกับอุปกรณ์อื่น ตรงจุดนี้ BlueCoat ดีกว่า เพราะมี ICAP Protocol ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆได้มากมาย เช่น Facetime นอกจากนี้รองรับ WCCP ทำให้ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ Redirection Device ได้อีกด้วย
  6. TMG 2010 มีฟีเจอร์ด้านการรักษาความปลอดภัยมากมาย เช่น Firewall, IPS, Web Content Inspection, Antispam, SSL Inspection ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถใช้ได้เลยโดยไม่ต้องซื้อฮาร์โแวร์หรือ license เพิ่มเติม ในขณะที่ BlueCoat ต้องซื้อ ProxyAV มาเพิ่ม
  7. TMG 2010 มี VPN  ให้ในตัว ในขณะที่ BlueCoat ต้องซื้อ ProxyRA
  8. TMG 2010 มี Link Load Balance ให้ด้วย แม้จะทำได้แค่ 2 ลิงค์ แต่ก็ถือว่าเป็นฟีเจอร์ที่น่าสนใจทีเดียว เพราะโดยปกติ Load Balance ที่ใช้งานได้สเถียรๆอย่าง F5 หรือ LinkProof มีราคาค่อนข้างสูงทีเดียว
  9. TMG 2010 เป็นซอฟท์แวร์ จึงมีความยืดหยุ่นมากกว่า คือสามารถเปลี่ยนไปใช้ฮาร์ดแวร์ที่ดีกว่าเดิมได้หากผู้ใช้มากขึ้น ส่วน BlueCoat อาจจะต้องซื้อใหม่ยกชุด (ซึ่งแพงพอสมควร)

จากที่สรุป มาให้เห็นนี้ก็พอจะเห็นกันแล้วนะครับว่า หากเราต้องการ Proxy เพียงอย่างเดียว คงต้องเลือก BlueCoat ไป แต่หากต้องการอะไรซักอย่างที่มีให้ครบทุกอย่าง Microsoft Forefront Threat Management Gateway 2010 ก็เป็นตัวเลือกที่ดีทีเดียวครับ

Websense อีกหนึ่ง Web Filtering คุณภาพ

วันนี้ขอแนะนำซอฟท์แวร์ประเภท Web Filtering ซักเล็กน้อย

เนื่องจากบริษัทนี้ได้ก้าวหน้าจนซื้อ SurfControl ซึ่งเป็น Web Filtering Engine ของ Juniper Netscreen Firewall ที่จัดว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นโปรดอีกอันหนึ่งของผมไปซะแล้ว (เดือดร้อนต้องไปอัปเกรด Netscreen ให้ชาวบ้านอีก)

Websense เป็นซอฟท์แวร์ประเภท Web Filtering ที่จัดได้ว่าเป็นกลุ่มผู้นำในปัจจุบัน (อ้างอิงจาก Gartner Quadrant) เรียกว่าคู่คี่กับทาง BlueCoat ทีเดียว

จุดดีของ Websense นั้นมีหลายอย่างทีเดียว ขอไล่เรียงตามความประทับใจนะครับ

  1. มี Policy Server ตั้งแยกได้ ทำให้ง่ายต่อการ Manage และหากมันล่ม ผู้ใช้ก็ยังทำงานได้อยู่ เพียงแต่ขะไม่โดน Filter เท่านั้น ตรงจุดนี้จะออกแบบมาคล้ายกับ TippingPoint IPS ที่ไปปุ๊บปล่อยปั๊บ
  2. User Interface ในการคอนฟิกเข้าใจได้ง่ายมาก สามารถีโมทเข้ามาจัดการได้ผ่านทาง Web Browser ธรรมด๊า ธรรมดา
  3. สามารถ Integrate เข้ากับชาวบ้านได้มากมาย แต่ที่ทำบ่อยๆเป็น ISA เลยเข้าใจว่ามันทำมาคู่กับ ISA ซะงั้น
  4. Database ท่านใหญ่พอสมควร เลยบล๊อคได้เยอะ แถมซอยย่อยเป็นหลาย Category ให้ ก็นับว่าสะดวกดี (แต่รู้สึกฐานข้อมูลเว็บประหลาดๆในไทยจะอัปเดตไม่เท่า BlueCoat นะ)

หลังจากจุดดีแล้ว ก็ขอแนะนำจุดที่ฮาซะหน่อย

  1. เราสามารถ Manage ผ่าน Web Browser ธรรมดาได้ก็จริง แต่หากผิดเวอร์ชันที่มันซัพพอร์ตไปซักนิด กดตั้งอะไรจะ Error ตลอดศก เช่น มันแนะนำให้เป็น Firefox 3.0 พอเอา 3.5 ไปเล่นกับมัน เอ๋อสนิท
  2. อย่าได้เปลี่ยนไอพี Policy Server ตามอำเภอใจ เพราะเปลี่ยนปุ๊บ เดี้ยวปั๊บ เข้า Manage ไม่ได้ ต้องแก้ร่วมๆสิบจุดกว่ามันจะมา และหากแก้ไม่ครบ งานนี้มี Error หนักอีกตะหาก
  3. คิดม่าออก ลองเล่นดู หากพลาดมาจะรู้ว่างานเข้าเป็นไง

รับสอน Windows Server, Active Directory, Exchange, ISA และอุปกรณ์ Network มากมาย

วันนี้ขอนอกเรื่องจากเรื่องเล่ามาโฆษณานิดหนึ่งนะครับ

รับสอนของต่างๆดังนี้นะครับ

Windows Server 2008 (Active Directory)

Exchange Server 2007

ISA Server 2006

และอื่นๆอีกมากมาย

รายละเอียดตามนี้เลยครับ

http://www.izitcer.com/?page_id=29

.

.

สอนโดย Engineer (SI – System Integrator) ที่ยังทำงานทั้งด้าน Design และ Configuration ครับ ^^

สนใจติดต่อได้ตามรายละเอียดด้านบนครับ

WordPress Themes