Posts tagged: Windows

LM (Lan Manager)ทำไมต้องเลิกใช้

วันนี้ขอยกตัวอย่างอัลกอริทึกของการเก็บรหัสผ่านใน Windows เก่าๆมาเล่าให้ฟังนิดนะครับว่าทำไมปัจจุบันจึงต้้องมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องๆ

ปกติแล้วการเก็บรหัสผ่านใน Windows จะเก็บอยู่ในไฟล์ที่ชื่อว่า SAM Database ซึ่แน่นอนว่าหากเก็บเป็น Clear Text แล้วย่อมต้องถูกโจรกรรมกันได้อย่างง่ายๆแน่นอน ดังนั้นเราจึงต้องมีการเข้ารหัสที่เก็บนี้ไว้ด้วยวิธีการตามแต่จะคิดขึ้นมาได้

Lan Manager หรือ LM Hash เป็นวิธีการเข้ารหัส Password ที่ใช้ใน Windows รุ่นเก่าๆเช่น Windows NT และก็ใช้มาเรื่อยๆ วิธีการเข้ารหัสผ่านของ LM Hash จะมีดังนี้

  1. แบ่งรหัสผ่านออกเป็นสองส่วน ส่วนละ 7 ตัว กรณีที่รหัสผ่านสั้นกว่า 14 ตัวก็จะทำการ Pad เข้าไปให้ครบ มองจากตรงนี้จะเห็นเลยว่าเราจะตั้งรหัสยาวกว่า 14 ตัวไม่ได้ (ปัจจุบันผมตั้งที่ 30 ขึ้นไปซึ่งเพื่อนก็แซวว่าเยอะแล้ว แต่ได้ข่าวว่าบาง Vendor ซัดไปเกือบร้อย !!!)
  2. รหัสผ่านจะถูกทำเป็น Uppercase เท่ากับว่าหากใช้เทคนิค Bruteforce ไปประยุกต์จะประหยัดเวลาไปครึ่งหนึ่ง
  3. นำรหัสทั้งสองส่วนไปผ่านอัลกอริทึมจนเรียบร้อยก็นำมาต่อกันแล้วเก็บลง SAM ขั้นตอนนี้มองเผินๆไม่มีปัญหาหรอก แต่ดันไปใช้ DES 56 Bit ซึ่งผมว่า Bit น้อยไป เพราะสมัยนี้ใช้เป็น AES256 กันแล้ว

เขียนสั้นๆมาสามข้อก็น่าจะเห็นแล้วว่าทำไม LM จึงถูกลบไปจากสารบบ

ในความเป็นจริงจุดอ่อนของ LM ถูกพบตั้งแต่ยังเป็น OS2 ที่ Microsoft จับมือกับ IBM แล้ว แต่เนื่องจากตอนนั้นขายระบบที่ใช้ LM ไปมากแล้ว ถ้าประกาศว่าใช้ไม่ได้ก็กะไรอยู่ ดังนั้นเราจึงเห็น LM อยู่คู่โลกนานเกินกว่าที่ควรจะเป็นครับ

ปัจจุบันการเก็บรหัสลง SAM ใช้เทคนิคอื่นแล้ว ซึ่งก็แคร็กยากขึ้น แต่หากตั้งรหัสไว้อ่อนๆก็โดนได้ง่ายๆครับ ดังนั้นมาตั้งรหัสให้ยาวและซับซ้อนกันแต่วันนี้ดีกว่าครับ :)

เรื่องไอที เรื่องง่ายๆที่คุณอาจยังไม่รู้ ตอน Security on Windows

เชื่อหรือไม่ว่าจริงๆแล้ว คุณอาจไม่จำเป็นต้องมี Antivirus, Firewall, IPS, Antispyware !!!

บ่อยครั้งผมมักจะเห็นว่าการให้คำแนะนำต่างๆทางด้านไอทีจะเน้นไปที่การลง Protection Software ซะมาก

ซึ่งจริงๆแล้ววิธีนี้ก็ไม่ได้ผิดอะไรครับ เพราะช่วยป้องกันตัวเองได้ในระดับหนึ่ง

แต่สิ่งที่น่ากังวลสำหรับผมแล้วคือ Vulnerability, Compatibility ระหว่าง Protection Software ที่แห่กันลงไปในเครื่อง

บางท่านลง Antivirus 2 ตัวในเครื่อง !!!

ผมเชื่อว่าในสถานการณ์นี้ Antivirus 2 ตัวนี้จะต้องมีการทำงานในหลายๆครั้งที่ Conflict กัน

เช่น AV ตัวแรกต้องการลบไฟล์ออก อีกตัวจะไม่ลบ

นอกจากนี้หลายๆท่านมีการใช้ Firewall แต่ไม่เคยอัปเดตตัว Firewall เลย

ผลคือหาก Firewall มีช่องโหว่เกิดขึ้น (Vulnerability) Hacker อาจเจาะระบบเข้ามาง่ายๆ

เจาะเข้ามาแล้วจะ Execute จะ Transfer อะไรทำได้หมด

.

.

ดังนั้นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญลำดับแรกในการ Implement ระบบคือ OS Security

หรือที่เรียกกันติดปากว่า OS Hardening

ผมถือว่าเรื่องนี้สำคัญกว่า Protection Software ซะอีก

ยกตัวอย่างเช่นใน Windows เราสามารถจำกัด Path ที่สามารถ Execute Software ได้

สามารถกำหนด Permission ของ User ได้ เช่น การเข้าถึง Folder, การจำกัดการ Backup หรือการเข้าถึง System File หรือ System Configuration ต่างๆ

การเซตเหล่านี้เราสามารถกระทำได้ผ่าน Group Policy

ในระบบ Workgroup เราต้องเซต Policy เหล่านี้ทีละเครื่อง

แต่ในระบบ Domain เราสามารถเซต Policy ครั้งเดียวบน Active Directory ใน Windows Server แล้วกำหนดให้ใช้กับกลุ่มที่ต้องการได้ทันที

ดังนั้นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่ใช้งาน Windows เป็นหลัก

ผมจึงแนะนำให้ใช้งานระบบ Domain มากกว่าที่จะใช้ Workgroup

.

.

วันนี้ขอแค่นี้ก่อนนะครับ

โอกาสหน้าจะนำเรื่อง Domain และ Workgroup ที่ผมเคยพบมาเล่าต่อ

WordPress Themes