Posts tagged: Checkpoint

การทำ Static NAT บน Juniper

วันนี้มาอัปบล๊อคกันแบบมีสาระหน่อยครับ

.

การทำ Static NAT ถือเป็นเรื่องจำเป็นมากในกรณีที่เราต้องการให้ผู้ใช้ภายนอก

เข้ามาใช้งาน Server ที่อยู่ใน DMZ หรือ Trust Zone

การทำ Static NAT ใน Juniper เมื่อเทียบกับ Checkpoint อาจจะดูยุ่งยากกว่าเล็กน้อยครับ

เพราะใน Checkpoint คลิกที่ Host Object แล้วใส่ NAT IP ไปก็จบแล้ว

แต่ใน Juniper จะต้องไปเซต Interface ก่อน แล้วมาทำ Policy ต่ออีก

และหากเพิ่งเริ่มทำอาจจะงงๆได้เพราะมันจะไม่ได้เขียนว่า NAT ด้วยล่ะเอ้อ

.

Static NAT ใน Juniper จะเรียกว่า MIP หรือ Mapped IP Addresses

การทำงานจะเป็นดังรูปครับ

Juniper MIP (Static NAT)

Juniper MIP (Static NAT)

ว่าแล้วก็ส่งต่อ Command ไปครับ

set interface ethernet1 zone trust
set interface ethernet1 ip 10.1.1.1/24
set interface ethernet1 nat
set interface ethernet2 zone untrust
set interface ethernet2 ip 1.1.1.1/24

set interface ethernet2 mip 1.1.1.5 host 10.1.1.5 netmask 255.255.255.255 vrouter trust-vr

อื่นๆเกี่ยวกับ MIP

  1. MIP จะเก็บอยู่ใน Global Zone
  2. เมื่อทำ MIP เวลา Server จะ Initiate Connection มันจะออกไปเป็น IP ของ MIP เลย ไม่สามารถใช้งาน NAT Policy อื่นๆได้ ดังนั้นในกรณีนี้จะเป็นปัญหาเรื่อง Security ทันที เพราะเท่ากับว่าตัว Server ภายใน DMZ หรือ Trust Zone ไม่ได้ถูกซ่อน IP จริงๆของตัวเองเอาไว้เมื่อติดต่อกับ Untrust Zone ดังนั้นหากกังวลเรื่องนี้คงจะต้องใช้วิธี NAT แบบอื่นแทน เช่น VIP ครับ

สำหรับวันนี้ขอตัวก่อนนะครับ วันหลังมีโอกาสจะแวะเอา Tips เล็กๆน้อยๆมาฝากอีกครับ

ประเภทของ Firewall ในปัจจุบัน

สวัสดีครับ วันนี้มาแนววิชาการซักนิด

วันนี้จะขอเล่าเรื่อง Firewall สักเล็กน้อยครับ

อยากจะมาแบ่ง Firewall ออกเป็นประเภทตามลักษณะการติดตั้งสักเล็กน้อย

เพราะหากแบ่งตามลักษณะการทำงาน Firewall ในปัจจุบันคงได้อยู่ประเภทเดียวกันเกือบหมด

.

หากแบ่งตามที่ผมว่า อาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ

  1. Software Firewall ประเภทนี้ก็ตรงตัวเลยคือเป็น Firewall ที่เป็นซอฟท์แวร์ เวลาใช้งานก็ติดตั้งบนเครื่อง Server ทั่วไปได้เลย อาจจะเป็น PC ธรรมดาๆก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ISA Server, Checkpoint, IPTABLES
  2. Appliance Firewall ประเภทนี้ผู้ผลิตจะติดตั้ง Firewall ลงมาบน Hardware ของตัวเองเลย ไม่สามารถติดตั้งบนเครื่องธรรมดาทั่วไปได้ ยกตัวอย่างเช่น Juniper, Checkpoint (เจ้านี้ทำมาหลายแบบครับ), Fortigate, Stonegate

.

มาว่ากันเรื่องข้อดีของ Software Firewall กันก่อนเลยครับ

  1. สามารถใช้ฮาร์ดแวร์อะไรก็ได้มาติดตั้ง ขอแค่ให้มีแรงรันมันได้เป็นพอ
  2. บางเจ้าแจกให้ใช้กันฟรี
  3. ราคาของอุปกรณ์ไม่แพงมากเหมือน Appliance
  4. หากมีประสบการณ์ การ Tune Up จะเล่นได้มากมาย
  5. มักจะไม่หยุมหยิมในเรื่องของ License ที่บางเจ้าที่ทำ Appliance ชอบแยก Feature อต่ละอย่างมาขายเป็น License
  6. มี Knowledge Base มากมาย

ข้อดีของ Appliance Firewall

  1. มีความเสถียรสูง เพราะ OS ที่ใช้ผ่านการ Tuning มาเรียบร้อยแล้ว
  2. มีความปลอดภัยสูง เพระา OS ที่ใช้โดน Hardening มาอย่างดี
  3. เวลามีปัญหา รีเซตและมักจะรอด
  4. การ Support จากคนขายค่อนข้างดีแทบทุกเจ้า เนื่องจากอุปกรณ์ราคาแพง และต้องอยู่กันยาวนาน
  5. เวลาคอนฟิกได้จะดูหล่อมาก เนื่องจากของประเภทนี้มี Knowledge อยู่ในวงจำกัด แต่หากไม่ได้ เตรียมขี้เหร่ออกจากไซต์

เดี๋ยววันหน้าจะมาต่อให้ฟังอีกทีนะครับ วันนี้มีงานด่วน ขอลาไป่อน สวัสดีครับ

WordPress Themes