และแล้ววันนี้ก็ทำไม่ได้ดังที่ตั้งใจ แต่ก็ดีใจที่ได้ทำ

บทสรุปของความพยายามในวันนี้คือ ทำ Global Load Balance ให้เสร็จก่อนการเทรนจะเริ่มไม่ได้

.

.

ส่วนหนึ่งยอมรับว่าตัวเองชิลล์ไปหน่อยในช่วงเย็นเมื่อวานกะวันนี้ครึ่งเช้า

เลยไม่สามารถจะเรียนรู้คอนเซปต์และวิธีการเซตได้ทัน

ผลที่ออกมาคือคอนฟิกผิดไปหลายตัวเลย

รวมทั้งเรื่องคอนเซปต์ของตัวอุปกรณ์เองที่หลงไปหลายจุด

.

.

แต่ที่น่าบ่นนิดคือแมนนวลที่มากับตัวบล๊อก

ขอราคาเจ็ดหลักแต่เเมนนวลที่แถมมาดันอ่านแล้วงงอีก… เฮ้อ กำจริงๆ

.

.

.

สุดท้ายท่านเทพมาเทรนเอง เลยได้ทั้งคอนเซปต์และวิธีการเซตเลย

ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ หากไม่ได้พี่ ไม่รู้ว่าจะหลงไปอีกนานไหม

.

.

ครั้งหน้าหากมีโอกาสได้เจอของยากๆอีกจะต้องทำเองให้ได้เลย…

แถมท้ายรายการ ซอฟท์แวร์สำหรับคนอยากตรวจทราฟฟิก

นึกได้พอดีว่าวันนี้มีลูกค้าท่านหนึ่งโทรมาถามเรื่องการตรวจสอบแบนด์วิดขององค์กรพอดี

ก็เลยขอแนะนำให้สักตัวที่ผมใช้เวิร์คละกัน

.

แอ่น แอน แอ๊น NTOP คนนี้นี่เอง (วันนี้เบลอจัดไปบอกลูกค้าตอนแรกว่า NMAP ดีนะที่ไม่เอาไปใช้ ฮ่าๆ)

เซิร์ชอากู๋โลดครับ

แต่ขอบอกว่าใช้ดีเชียวล่ะ

แถมยังผลรายงานบางอย่างไปใช้ทำ Web Filtering List ได้อย่างแม่นยำอีก

พิสูจน์มาแล้วจาก NTOP + ISA or Squid or Appliance UTM Firewall

ทำบริษัทไหน พนักงานบริษัทนั้นบ่นปั๊ป เข้าเว็บประจำไม่ได้ซ้ากเว็บ

.

คำเตือน ก่อนอิมพลีเมนต์ กรุณาสตาร์ทรถและใส่รองเท้าให้พร้อม จากนั้นโกยโลด…

Global Load Balance งานหินอีกงาน

แวะมาอัปบล๊อคซะหน่อย ไม่รู้ว่ามีคนอ่านสักกี่มากกี่น้อยกัน ^^

เอาเป็นว่าหากผ่านมาเจอแล้วหาสาระได้ก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับ

.

.

สอง-สามวันมานี้ไม่ค่อยมีโอกาสได้มาชิลล์ในเน็ตเท่าไหร่เลย

เพราะล่าสุดที่บริษัทรับงานทำ Global Load Balance มา

ไอ้คอนเซปต์น่ะ พอเดาๆได้อยู่หรอก

แต่พอมาคอนฟิกจริงแล้ว เฮ้อ… ยากเหมือนกันแฮะ

.

.

ตอนนี้ทำมาได้ 2 วันแล้ว

โหลดไซต์เดียวทำผ่านไปแล้ว

แต่วันพรุ่งนี้น่ะสิ

ต้องทำเพิ่มมาอีกสองไซต์แล้วจับโหลดร่วมกัน

คอนเซปน่ะพอเก๊ตๆมาตั้งแต่ต้นแล้ว

แต่พอทำจริงเปิดแมนนวลกระจาย

วันพรุ่งนี้เทพจากเจ้าของโปรดักต์จะมาเทรนให้

แต่ผมอยากจะทำให้สำเร็จก่อนที่เข้าจะมาเทรนจังเลย

.

.

ก็เพื่อจะได้พิสูจน์ว่า

หากเราตั้งใจจะทำอะไรสักอย่างแล้ว เราต้องทำได้

.

.

ผมมีเวลาอีกครึ่งวันในการทำก่อนที่จะโดนจับเทรน

มาลุ้นร่วมกันนะครับว่าจะทำทันไหม

.

.

ขอบคุณที่ช่วยลุ้นครับ (จะมีกี่คนกันนะ เอิ๊กๆ)

PowerShell ใช้ดีช่วยบอกต่อ

หากเอ่ยถึงอินเตอร์เฟซของ Microsoft เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะนึกถึง GUI (Graphic User Interface) เป็นอันดับแรก

แต่ถ้าพูดถึง Shell หรือ Command Lind Interface ส่วนใหญ่คงนึกถึง Unix หรือ Linux กันซะเกือบหมด

จะว่าไปแล้วแรกเริ่มเดิมทีการพิมพ์คำสั่งอะไรทำนองนี้ทางไมโครซอฟท์ก็มีทำมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยดอสเลยน่ะแหละครับ

แต่ไม่รู้ว่าทำไมช่วงหลังเรามองผ่านตัว Command เหล่านี้ไปซะหมด

สงสัยคงต้องยกควาดีความชอบให้กับทีมออกแบบ GUI ซะแล้วสินี่

.

.

.

เมื่อไม่เร็วมานี้ (จริงๆนานแล้ว) ตอนที่ Exchange 2007 ออกมาใหม่ๆ

ผมได้ลองจับๆดู (ก่อนทีึ่ตอนหลังต้องทำจริง แสดงจริง ปวดหัวจริง)

ตอนแรกผมใช้มันแต่ GUI หรือ Exchange Management Console น่ะแหละ

แต่ทำไปทำมา เวลาจะทำอะไรในลักษณะกรรมกร เช่นว่าเพิ่มเมลบ๊อกซ์ซัก 100 คน

หากทำผ่านตัว GUI ผมได้เป็นกรรมกรจริงแน่

ว่าแล้วผมก็ลองทำผ่าน Shell ที่เรียกว่า Exchange Management Shell ดู

ปรากฎว่าง่ายซะจริง 100 คน พิมพ์บรรทัดเดียว จบ…

สุโค่ยครับ งานนี้พูดได้เต็มปากเลยว่าทำงานแบบ Engineer จริงๆ ^^

ว่างๆจะเอาตัวอย่างมาให้ดู แต่วันนี้ง่วงมาก เพิ่งผ่านสรภูมิสอบมา ขอบายก่อนนะครับ

.

.

อ้อ ลืมไป PowerShell ของเขาดีจริงครับ

Lou Gerstner ชายผู้กอบกู้ IBM

IBM ถือเป็นบริษัทอันดับต้นๆของวงการคอมพิวเตอร์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

แต่เชื่อหรือไม่ว่าครั้งหนึ่ง IBM เกือบจะล้มมาแล้ว !!!

ปลายทศวรรษ 80 ต่อถึงต้นทศวรรษ 90 IBM มียอดขายตกไปมาก

บวกกับค่าใช้จ่ายจากการจ้างพนักงานจำนวนมาก

รวมทั้งนโยบายไม่ไล่คนออกของ IBM เองก็ยิ่งตอกย้ำสถาะภาพทางธุรกิจให้เลวร้ายไปได้อีก

ในขณะนั้น CEO ของ IBM คือ John Akers ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น CEO ยอดแย่คนหนึ่งในประวัติศาสตร์

จอห์นเป็นชายที่ค่อนข้างจะออกแนวอนุรักษ์นิยม ไม่เปิดรับอะไรใหม่ๆ ยึดติดว่า Platform ของ IBM คือที่หนึ่งในโลก

ความคิดแบบนี้จะไม่ผิดเลยหากเกิดในยุค 70-80 ต้นๆ เพราะขณะนั้น IBM คือเบอร์หนึ่งจริงๆ

แต่ในยุค 90 ที่เริ่มมี PC ที่มีราคาถูกกว่า Mainframe หรือระบบของไอบีเอ็ม บวกกับซอฟท์แวร์ที่สามารถใช้งานได้อิสระ และราคาถูก

นั่นทำให้ IBM ตกอยู่ในที่นั่งลำบากทันที

แต่ในราวปี 1993 Lou Gerstner  ได้เข้ามาเป็น CEO ต่อจากจอห์น

ลูมีพื้นฐานมาจากนักธุรกิจ เป็น Businessman พันธุ์แท้

ต่างจากจอห์นที่ออกไปในแนว Engineer

ผลปรากฎว่าลูสามารถทำให้ IBM กลับเข้ามาสู่เส้นทางของผู้นำในตลาดเทคโนโลยีอีกครั้ง

แนวทางการดำเนินงานของลูไม่มีอะไรมากนอกจาก

Change หรือ เปลี่ยน

เขาปลดพนักงานออกไปเป็นจำนวนมาก

ยกเลิกธุรกิจส่วนที่ไม่ืทำกำไร

หาตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะการบริการที่เติบโตขึ้นมามาก

รวมทั้งทำลายประเพณีที่ออกแนวระบบราชการของ IBM ออกไปโดยไม่มีชิ้นดี

ทำให้ในเวลาต่ามา IBM ผงาดได้อีกครั้ง

WordPress Themes